ระบบงานธุรกิจ
ระบบธุรกิจ หมายถึง องค์การใด ๆ ที่ก่อตั้งขึ้น
โดยมีจุดประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร เป็นสำคัญ
ซึ่งองค์การดังกล่าว อาจอยู่ในรูปแบบของกิจการเจ้าของคนเดียว บริษัท
ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นต้น ธุรกิจสามารถแบ่งตามลักษณะการดำเนินงาน ได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. การพาณิชย์
(Commerce)หมายถึง ธุรกิจที่ดำเนินการด้านการในประเภทการซื้อ ขาย แลก เปลี่ยน
เช่น การค้าปลีก การค้าส่ง ตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น
2. การอุตสาหกรรม
(Industry) หมายถึง ธุรกิจที่ดำเนินการด้านการผลิต เช่น อุตสาหกรรมการ ผลิตรถยนต์
อุตสาหกรรม เครื่องจักร อุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมสินค้าสำเร็จรูป เป็นต้น
3. การบริการ
(Services) หมายถึง ธุรกิจที่ดำเนินการให้บริการแก่ลูกค้า
สินค้าไม่มีมูลค่าทาง เศรษฐกิจ ไม่มีตัวตน และไม่สามารถ คืนได้ เช่น โรงภาพยนต์
การท่องเที่ยว การโรงแรม ร้านเสริม สวย เป็นต้น
กรณีศึกษาระบบงานธุรกิจของร้านค้าแห่งหนึ่ง ร้านค้า แห่งนี้เป็นร้านค้าขนาดเล็ก จำหน่ายสินค้าประเภทขนม
เครื่องดื่ม ของใช้ในชีวิตประจำวัน และสินค้าเบ็ดเตล็ดให้กับลูกค้าทั่วไป ซึ่งมีราย
ละเอียดการดำเนินการธุรกิจดังนี้
1. ขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้า การสั่งซื้อสินค้าเป็นขั้นตอนแรกในการดำเนินธุรกิจด้านการขาย
เพราะไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เปิดกิจการใหม่หรือดำเนินกิจการมาแล้วหลายปี
ก่อนที่จะดำเนินการขายสินค้า แน่นอนจะต้องมีสินค้าเพื่อขายในร้าน
ซึ่งถ้าเป็นกรณีไม่ใช่เปิดกิจการใหม่ ทุก ๆ
วันจะต้องตรวจนับสินค้าในสต็อกสินค้าว่าสินค้าแต่ละประเภทแต่ละยี่ห้อมีจำนวนคงเหลือเท่าไหร่
ถ้าสินค้าใดหมดหรือมีจำนวนเหลือน้อย
ก็จะทำใบสั่งซื้อไปยังผู้จำหน่ายเพื่อสั่งซื้อสินค้า ตามตัวอย่างดังรูป
เมื่อผู้จำหน่ายสินค้าได้รับใบสั่งซื้อสินค้า
ก็จะส่งสินค้าพร้อมใบส่งของมาให้ เมื่อทางร้านได้รับสินค้าแล้วจะต้องตรวจนับสินค้าว่าตรงตามใบสั่งหรือไม่
ถ้ามีจำนวนสินค้าไม่ครบหรือมีสินค้าที่ไม่ตรงตามใบสั่งซื้อ
ก็จะแจ้งไปให้ผู้จำหน่ายสินค้าทราบ
แต่ถ้าสินค้าครบตามจำนวนก็จะเก็บเข้าร้านเพื่อขายต่อไป ตามผังงานดังรูป
2. ขั้นตอนการขายสินค้า เมื่อมีสินค้าเพื่อขายแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการขายสินค้า ซึ่งการขายสินค้าในร้านสะดวกซื้อทั่วไปจะขายเฉพาะเงินสด และทุกครั้งที่ขายสินค้าจะออกใบเสร็จให้กับลูกค้า
3. การจัดทำบัญชี ปกติการจัดทำบัญชีจะต้องจัดทำเป็นประจำ
เช่น การลงบันทึกการขายสินค้าในแต่ละวันหรือการบันทึกการสั่งซื้อสินค้าแต่ละครั้ง
แต่การจัดทำบัญชีดังกล่าวยังไม่สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้
ดังนั้นเมื่อสิ้นเดือบนเจ้าของกิจการจะจัดทำบัญชีต่าง ๆ เช่น รายงานกำไร/ขาดทุน
รายงานสินค้าขายดี รายงานสินค้าคงเหลือ เป็นต้น
ทั้งนี้เพื่อจะเป็นข้อมูลในการบริหารธุรกิจต่อไป ตัวอย่างการจัดทำรายงานกำไร/ขาดทุน การจัดทำรายงานกำไร/ขาดทุน จะตรวจสอบการขายสินค้าทั้งหมดของเดือนนั้น
ๆ ว่า ได้เงินเท่าไหร่ (รายรับ) และตรวจสอบรายจ่าย จากการซื้อสินค้าและรายจ่ายอื่น
ๆ เช่น ค่าขนส่งสินค้า เงินเดือนพนักงาน เป็นต้น จากนั้นนำมาคำนวณหากำไร/ขาดทุน
ดังนี้ กำไร/ขาดทุน = รายรับ - รายจ่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น